กลุ่มดาวสิงโต

กลุ่มดาวสิงโต (Leo)

    
กลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวสิงโต ประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 9 ดวง ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวราศีสิงห์ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม ถึง 17 กันยายน เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตได้ง่ายบนฟ้า เพราะมีดาวฤกษ์ดวงใหญ่สีน้ำเงินขาวสว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ 1 ดวง อยู่ตรงบริเวณหน้าอกของสิงโต เรียกว่า ดาวเรกิวลุส ( REGULUS) หรือ ดาวหัวใจสิงห์และ ตรงปลายหางของสิงโตจะมีดาวฤกษ์สว่างสีขาวอีก 1 ดวง เรียกว่า ดาวหางสิงห์ (DENEBOLA) กลุ่มดาวสิงโต เป็นกลุ่มดาวอันดับที่ห้าของกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในแนวสุริยวิถีที่สังเกต และจดจำได้ง่ายโดยรูปสิงโตของกลุ่มดาวสิงโต จะหันหน้าไปทางทิศตะวันตก โดยมีดาวฤกษ์สุกสว่างคือ ดาวเรกูลัส ซึ่งจะอยู่ตรงตำแหน่งหัวใจของสิงโต จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวหัวใจสิงห์ ซึ่งเป็นดาวหนึ่งในสี่ของดาวราชาทั้งสี่ (The Four Royal Stars) ซึ่งประกอบด้วย ดาวหัวใจสิงห์ ดาวตาวัว ดาวปาริชาต และดาวโฟมาออท ซึ่งแต่ละดวงจะแบ่งเส้นรอบวงท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน โดยอยู่ห่างพอๆกันประมาณครึ่งท้องฟ้า (90 องศา) ทำให้เรามองเห็นดาวราชาอย่างน้อย 1 คู่เสมอ Denebola ดาวเดเนโบลา ชื่อดาว หมายถึง หางสิงโต (The lion's tail) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งหางสิงโตพอดีโดยดาว Denebola เป็นดาวคู่เช่นกันแต่ไม่สามารถเห็นดาวคู่ได้ด้วยกล้องดูดาวขนาด นอกจากนี้เราสามารถเห็นฝนดาวตกสิงโต (Leonid Meteor Shower) ได้ตรงตำแหน่งประมาณ 2 องศาไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของดาวดวงนี้โดยจะเห็นมากสุดทุก 33 ปีโดยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999)

  



 










นิทานดาว สิงโต เป็นราชาหรือเจ้าแห่งสัตว์ป่าของโลก ออกล่าเหยื่อรบกวนชาวบ้าน จึงถูกฆ่าโดยเฮอร์คิวลิส (Hercules) แต่เนื่องจากสิงโตตัวนี้ มีหนังหนาและเหนียว ฟันแทงไม่เข้า จึงถูกเฮอร์คิวลิสฆ่า โดยล็อคคอด้วยมือเปล่า (Headlock) จากนั้นเฮอร์คิวลิสก็ถลกหนัง โดยใช้เล็บของสิงโตเอง จากนั้น ก็เอาหนังมาทำเครื่องแต่งกาย และเกราะ ทำให้เฮอร์คิวลิสดูน่าเกรงขาม จากนั้น Selene เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ได้นำสิงโตขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวจักราศี โดยที่สิงโตจะวิ่งหนีเฮอร์คิวลิสตลอดเวลา โดยสิงโตอยู่สูงสุดบนท้องฟ้า ในขณะที่เฮอร์คิวลิสกำลังขึ้น และตกในขณะที่เฮอร์คิวลิส อยู่สูงสุดบนท้องฟ้าเสมอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น